หน้าหลักเมืองไทย 360 องศา จังหวัดยโสธร ► ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร

 ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร
งานประเพณีบุญบั้งไฟ  เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของชาวอีสาน  ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอีสานมาช้านาน  โดยเชื่อว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลปักดำทำนา  จะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาพญาแถนบนฟากฟ้า เพื่อขอให้พญาแถน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งฝน ได้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้สรรพสิ่งบนผืนโลกได้ดำเนินวีถีชีวิตไปตามครรลองที่ควรจะเป็น  โดยเฉพาะผู้คนบนผืนดินอีสาน ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทำใร่ทำนามาช้านาน ต้องอาศัยข้าวและพืชผลทางการเกษตรในการหล่อเลี้ยง  ดำรงชีวิตมาโดยตลอด  น้ำฝนจากฟ้าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ คืองานประเพณีแห่ และจุดบั้งไฟจึงถูก   สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นความหวัง และกำลังใจ ของชาวอีสานมาโดยตลอด

รูปภาพของ ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร
งานประเพณีบุญบั้งไฟ  เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของชาวอีสาน  ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอีสานมาช้านาน  โดยเชื่อว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลปักดำทำนา  จะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาพญาแถนบนฟากฟ้า เพื่อขอให้พญาแถน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งฝน ได้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้สรรพสิ่งบนผืนโลกได้ดำเนินวีถีชีวิตไปตามครรลองที่ควรจะเป็น  โดยเฉพาะผู้คนบนผืนดินอีสาน ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทำใร่ทำนามาช้านาน ต้องอาศัยข้าวและพืชผลทางการเกษตรในการหล่อเลี้ยง  ดำรงชีวิตมาโดยตลอด  น้ำฝนจากฟ้าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ คืองานประเพณีแห่ และจุดบั้งไฟจึงถูก   สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นความหวัง และกำลังใจ ของชาวอีสานมาโดยตลอด

 
yasofocus
วันที่ 10 เมษายน 2555 เวลา 14:23 น.


ลงด้านล่าง


ความคิดเห็นที่ 1
 
รูปภาพของ ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร
งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรจัด ณ สวนสาธารณะพญาแถน และเขตเทศบาลเมืองยโสธร ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก จัดขึ้นเป็นประจำปีทุกปี ในช่วงอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ก่อนที่จะถึงฤดูลงมือทำนา ทำไมงานบุญบั้งไฟของชาวยโสธรถึงน่าสนใจ  เนื่องจากบุญบั้งไฟของชาวยโสธรเป็นบุญบั้งไฟนานาชาติโดยมีบั้งไฟจากประเทศญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านมาร่วมงานทุกปี  ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก  และดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวชมจำนวนมาก  มีการประกวดแห่เซิ้งบั้งไฟ  บั้งไฟสวยงาม  ประกวดกองเชียร์  การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ ฯลฯ

งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรจัด ณ สวนสาธารณะพญาแถน และเขตเทศบาลเมืองยโสธร ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก จัดขึ้นเป็นประจำปีทุกปี ในช่วงอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ก่อนที่จะถึงฤดูลงมือทำนา ทำไมงานบุญบั้งไฟของชาวยโสธรถึงน่าสนใจ  เนื่องจากบุญบั้งไฟของชาวยโสธรเป็นบุญบั้งไฟนานาชาติโดยมีบั้งไฟจากประเทศญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านมาร่วมงานทุกปี  ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก  และดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวชมจำนวนมาก  มีการประกวดแห่เซิ้งบั้งไฟ  บั้งไฟสวยงาม  ประกวดกองเชียร์  การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ ฯลฯ


 
yasofocus
วันที่ 10 เมษายน 2555 เวลา 14:23 น.

ความคิดเห็นที่ 2
 
รูปภาพของ ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร
ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง ๗ เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย 
ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้ 
๑. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์ 
๒. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว 
๓. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว 
หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้

ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง ๗ เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย 
ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้ 
๑. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์ 
๒. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว 
๓. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว 
หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้


 
yasofocus
วันที่ 10 เมษายน 2555 เวลา 14:23 น.

เรื่องอื่น ๆ ในหมวดรีวิวเทศกาลรื่นเริงประเพณีทั่วไทย

 ตลาดต้องชม หลาดใต้โหนดพัทลุง ของใช้ ของกิน งานศิลป์บ้านบ้าน - พัทลุง
ตลาดเด็ดประเทศไทยหลาดใต้โหนด จังหวัดพัทลุง บนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นที่นาเก่า ที่ทิ้งรกร้างมากว่า ...

 ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า (เหนือ) วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก - ตาก
ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า (เหนือ) เป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาแต่โบราณ เพื่อเป็นการสักการะองค์พระบรมธ...

 ปีใหม่นี้ กินข้าวใหม่ม้ง อำเภอพบพระ - ตาก
10-16 ม.ค. 2559 ณ สวนสาธารณะเกาะกลางบ้านป่าคา อ.พบพระ จ.ตาก ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่หล่อหลอมรวม...

 อิ่มบุญในงานผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิตวัดควนสวรรค์ - ตรัง
มาเที่ยวงานบุญ อิ่มเอมใจ ในงานผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิต ณ วัดควนสวรรค์ หมู่ 8 ตำบลนาหมื่นศรี อำเ...

 เที่ยวประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว ประจำปี 2557 สงขลา - สงขลา
ปีนี้ประเพณีชักพระ (ลากพระ) จัดขึ้นที่บริเวณลานดอกแก้ว อ.เมือง จ.สงขลา มีเรือพระหลายวัดร่วมเข้าประกว...

 ชมงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 22 หัวข้อ อนาคตเกษตรไทย - สงขลา
มีโอกาศได้มาชมงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 22 อีกครั้ง ซึ่งจัดขึ้นทุกปี ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-1...

 เที่ยวงานเทศกาลโคมไฟ สวนสาธารณะหาดใหญ่ - สงขลา
แวะมาเที่ยวกันนะคะ จัดช่วงเดือน พ.ย. ถึง เดือน ก.พ. ของทุกปี คะ...

 สีสันอ่างทอง งานกาชาดจังหวัดอ่างทอง ณ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง - อ่างทอง
งานกาชาดจังหวัดอ่างทอง ณ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง จัดทุกๆปลายเดือน มีนาคม-ต้นเดือนก...

เว็บไซต์พันธมิตรผู้สนับสนุน





คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

 กรุณา เข้าสู่ระบบ หากท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว
 หรือ ยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก คลิกที่นี่เพื่อลงทะเบียนสมาชิกใหม่







*รูปภาพหรือข้อความที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการส่งเรื่องจากบุคคลทั่วไป เวบไซต์ เมืองไทย 360 องศา ดอทคอม มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นทั้งสิ้น
หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไปครับ :)